วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

หน่วยงานหรือองค์กรที่นำ KM ไปใช้ประโยชน์

หน่วยงานหรือองค์กรที่นำ KM ไปใช้ประโยชน์ในการจัดการบริหารองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพ พร้อมทั้งวิจารณ์ว่าดีในประเด็นใดบ้าง และนำ IT ไปใช้อย่างไรบ้าง


หลักการและแนวคิด
            การบริหารงานแบบ  TipCo  เป็นการบริหารงานในรูปขององค์คณะบุคคล  โดยบูรณาการนโยบายต้นสังกัด ภารกิจ  กิจกรรม  ความรับผิดชอบ  ทรัพยากร  บุคลากรและเทคโนโลยีนำมาหลอมรวมเป็นนโยบายและยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานของโรงเรียน  เน้นการทำงานเป็นทีมและเน้นการเข้าใจ  ยอมรับและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโรงเรียน (Stakeholder)  ในทุกขั้นตอนของการปฏิบัติงาน  และเน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นพลวัตร (Dynamic) มีเป้าหมายนักเรียนสำคัญที่สุด โดยมีหลักในการทำงานร่วมกันว่า“ร่วมคิด  ร่วมทำ  ร่วมกัน"

องค์ประกอบของการบริหารงานแบบ  TipCo
                        T  ย่อมาจากคำว่า  Teamwork  หมายถึง  การทำงานเป็นทีมของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียน 
                        I   ย่อมาจากคำว่า   Integration   แปลว่า   การบูรณาการ  ซึ่งหมายถึง  การบูรณาการนโยบายต้นสังกัด   ภารกิจ   กิจกรรม     ความรับผิดชอบ  ทรัพยากร  บุคลากรและเทคโนโลยีนำมาหลอมรวมเป็นนโยบายและแนวคิดในการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการจัดการของโรงเรียนให้ได้มากที่สุด
                        P  ย่อมาจากคำว่า  Participation  หมายถึง  การมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมทุกขั้นตอนการดำเนินงานของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโรงเรียน (Stakeholder)
                         Co  ย่อมาจากคำว่า  Continuous Improvement   แปลว่าการพัฒนาอย่างต่อเนื่องหมายถึง  มีการดำเนินงานในทุกกิจกรรมของโรงเรียนอย่างต่อเนื่องเป็น              พลวัตร (Dynamic) โดยใช้วงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle)  เป็นขั้นตอนในการปฏิบัติงานได้แก่  การวางแผน  การปฏิบัติ  การประเมินผลและการปรับปรุงแก้ไข  ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ในด้านต่าง ๆ  ของโรงเรียน

จัดการปัญหาด้วยโซลูชันอัตโนมัติ
วิธีการในการจัดการปัญหาด้านคอมพิวเตอร์นี้ เริ่มต้นจากการที่ยูสเซอร์อธิบายถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครื่องของพวกเขาผ่านทางสายโทรศัพท์และผ่านระบบ Help desk แต่เนื่องจากความเชี่ยวชาญและความรู้ด้านระบบไอทีไม่เท่ากัน ทำให้ยูสเซอร์ไม่สามารถที่จะเข้าใจถึงข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่ไอที ทำให้เจ้าหน้าที่ไอทีต้องเสียเวลาในการเข้าไปแก้ปัญหาที่หน้าเครื่องของยูสเซอร์แทน ซึ่งบ่อยครั้งที่พนักงานไอทีต้องเสียเวลาไปจัดการกับปัญหาดังกล่าวที่ละหลายๆ ชั่วโมงในแต่ละวัน (ที่โต๊ะทำงานของยูสเซอร์ที่เกิดปัญหา) ยิ่งเกิดขึ้นหลายๆ คนทำให้แผนกไอทีเสียเวลาในการแก้ปัญหาเหล่านี้เป็นจำนวนมาก และไม่สามารถทำงานอื่นๆ ได้เลย ซึ่งไม่ก่อให้เกิดโพรดักส์ทิวิตี้แต่อย่างใด ในที่สุดจำเป็นต้องหาโซลูชันที่เข้ามาช่วยจัดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งก็ได้ตัดสินใจเลือก StarCat มาใช้ในการนี้
คุณสมานเล่าว่า ก่อนหน้านั้นเคยได้ใช้ StarCat ซึ่งเคยติดตั้งอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ยี่ห้อหนึ่งแล้วรู้สึกถูกใจถึงความสามารถจึงได้มีจัดซื้อมาเพื่อการใช้งาน โดยปัจจุบันมีการใช้ไลเซ่นส์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งอยู่ในทิปโก้ฟูดส์เกือบทั้งหมดกว่า 500 ไลเซ่นส์ โดยเน้นการใช้งานฟีเจอร์เพื่อการสนับสนุนการแก้ปัญหาโดยการใช้งานผ่านรีโมทหน้าจอเครื่อง เพื่อตรวจสอบปัญหาจิปาถะที่เกิดขึ้นแก่เครื่องลูกข่ายต่างๆ โดยไม่จำเป็นต้องใช้เจ้าหน้าที่ไอทีเดินไปยังคอมพิวเตอร์ของยูสเซอร์อีกต่อไป
นอกจากนั้นแล้วผู้จัดการฝ่ายไอทียังเสริมอีกด้วยว่า ทางทีมงานยังได้ใช้ฟีเจอร์ในการประเมินไลเซ่นส์ซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งบนเครื่องลูกข่าย เพื่อจะวิเคราะห์ถึงซอฟต์แวร์ที่ยูสเซอร์ใช้งานว่าเป็นซอฟต์แวร์ผิดกฏหมายหรือไม่ พร้อมทำรายงานสรุปเกี่ยวกับตัวไล่เซนต์ทั้งหมดของเครื่องลูกข่ายนั้นๆ เพื่อให้ผู้บริหารได้เห็นภาพรวมของการใช้งานซอฟต์แวร์ทั้งหมดได้ง่ายและชัดเจนมากขึ้น ฟีเจอร์อีกหนึ่งประการที่เป็นประโยชน์ต่อทิปโก้ฟูดส์มาก ก็คือตัว Help Desk ซึ่งเป็นระบบที่ให้ฝ่ายไอทีสามารถติดตามงานหรือเรื่องร้องเรียนปัญหาด้านไอทีต่างๆ ที่ยูสเซอร์แจ้งเอาไว้ หลักการทำงานของ Help Desk ก็คือ เมื่อยูสเซอร์เกิดปัญหากับเครื่องคอมพิวเตอร์ของตน พวกเขาจะต้องทำการแจ้งปัญหาผ่านทางหน้าเว็บบราวเซอร์ของ Help Desk และทางฝ่ายไอทีก็จะมอนิเตอร์ที่หน้าจอและเข้าไปจัดการกับปัญหาที่ถูกร้องเรียนผ่านมาทางระบบดังกล่าว

สร้างคุณประโยชน์ให้แก่องค์กร
การใช้งานซอฟต์แวร์ StarCat ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากมายกับทิปโก้ฟู้ดส์ โดยที่เห็นได้ชัดคือการลดช่วงเวลาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครื่องลูกข่าย ซึ่งเจ้าหน้าที่ไอทีไม่จำเป็นต้องเดินไปที่หน้าเครื่องเหมือนเช่นอดีต พวกเขาสามารถใช้วิธีการรีโมทเข้าไปยังหน้าจอของยูสเซอร์เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ อีกทั้งก็ยังมีฟีเจอร์ที่ใช้ในการประเมินซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งอยู่บนเครื่องลูกข่าย ช่วยให้ผู้บริหารสามารถเห็นภาพรวมรวมถึงรายงานของซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งได้ทั้งหมด ช่วยลดปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในกรณีที่ยูสเซอร์อาจจะนำมาติดตั้งเองเป็นต้น และฟีเจอร์อย่าง Help Desk ที่มาพร้อมกันใน StarCat ก็ช่วยทำให้ทีมงานเจ้าหน้าที่ไอทีสามารถทราบถึงลำดับความสำคัญของปัญหา และสามารถแทร็กหรือตรวจสอบบุคคลที่แจ้งปัญหา และที่สำคัญยังเป็นเครื่องมือที่จะช่วยประเมินวัดผลการทำงานของเจ้าหน้าที่ไอทีในการแก้ปัญหาระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กรได้อีกด้วย และปัจจุบันทางทิปโก้ฟูดส์ ก็ยังคงได้รับการสนับสนุนด้านข้อมูลและการฝึกอบรมจากทาง MOSCII Corporation ซึ่งเป็นบริษัทผู้พัฒนาตัวซอฟต์แวร์ StarCat อย่างต่อเนื่อง

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

กาลามสูตร : สิ่งที่ไม่ควรเชื่อ 10 ประการ

๑.      อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามๆ กันมา คำพูดที่มาจากการบอกต่อๆกันมา หรือฟังตามๆกันมามีโอกาสที่จะบิดเบือนจากความเป็นจริงสูง 

๒.    อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา คำสอนข้อนี้มิใช่สอนให้เราดูถูกความเชื่อเก่าๆแต่ให้เราพินิจพิเคราะห์เสียก่อน

๓.  อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ ข้อนี้มีอยู่มากมายในปัจจุบันเช่นเขาเล่าลือว่าเมื่อไปบนบานศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่แห่งนี้แล้วจะได้สมตามปรารถนาก็ไปกับเขา

๔.     อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ เรื่องตำรานี่ต้องพิจารณาให้ดีเพราะบางครั้งบางข้อมูลที่เขียนไว้ในตำราก็เป็นเรื่องจริงที่เชื่อถือได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งแต่เมื่อเวลาผ่านไปข้อมูลนั้นอาจไม่เป็นจริงก็ได้

๕.     อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก เพราะเหตุผลบางอย่างก็ไม่ใช่ว่าจะถูกเสมอไป เช่น คิดว่าคนที่มีเงินทองมากมาย มีอำนาจล้นฟ้าจะต้องมีความสุข

๖.      อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน เช่น เมื่อเห็นเมฆฝนตั้งเค้ามาก็คาดคะเนเอาว่าฝนจะตกบางครั้งลมอาจพัดฝนผ่านไปไม่ตกก็ได้หรือเมื่อมีคนมาพูดคุยเอาใจเรา

๗.     อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล เช่นเพราะการปลงใจเชื่อเช่นนั้นอาจจะเกิดความเข้าใจผิดขึ้นได้ หรือเมื่อเราเห็นคนท้องโตก็อย่าเพิ่งคิดว่าคน ๆ นั้นตั้งท้อง เขาอาจจะอ้วนก็ได้

๘.     อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว ธรรมชาติของมนุษย์ย่อมมีความลำเอียงอยู่ในตัว

๙.      อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ สังคมในปัจจุบันมีการแบ่งพรรคแบ่งพวกออกเป็นหลายฝักหลายฝ่ายและผู้ที่เป็นหัวหน้าของแต่ละฝ่ายก็ล้วนแต่เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในสังคมเป็นผู้ที่มีคำพูดที่น่าจะเชื่อถือได้

๑๐.  อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา ครูของเราสอนให้เรารู้จักคิด รู้จักวิเคราะห์ รู้จัก
ไตร่ตรอง

มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง หมายถึง ทางปฏิบัติที่ไม่สุดโต่งไปในทางอุดมการณ์ใดอุดมการณ์หนึ่งเกินไป มุ่งเน้นใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา มักไม่ยืดถือหลักการอย่างงมงาย
1.อนิจจัง (ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน) ทำให้เกิดกฎวัฏฏะ(การหมุนวนเวียน)ทำให้มีสันตติ(การสืบต่อ)ที่ปิดบังอนิจจัง และกฎอนิจจังจะทำลายกฎวัฏฏะในที่สุด
-ความไม่เที่ยงแท้แน่นอนในที่นี้คือข้อมูล
2.ทุกขัง (ความทนได้ยาก)ทำให้เกิดกฎสมตา(ความสมดุล) ทำให้มี อิริยาบถ(การบริหารปรับตัว) ที่บิดบังทุกขัง และกฎทุกขังจะทำลายกฎสมตาในที่สุด
-การปรับตัวปรับข้อมูลให้ทันยุคทันสมัย
3.อนัตตา (ไม่ใช่ตัวตน) ทำให้เกิดกฎปัจจยาการ (การมีระบบระเบียบของโครงสร้าง)ทำให้มี ฆนะ(ความเป็นก้อน,รูปร่าง,โครงสร้าง)ที่ปิดบังอนัตตา และกฎอนัตตาจะทำลายกฎชีวิตาในที่สุด
-โครงสร้างของสิง่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลยุคเก่าหรือใหม่

Credit: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3

วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

คำถาม KM

1.ท่านคิดว่า Blog ในอนาคตสำหรับการจัดการความรู้ ควรจะมีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มเติมอย่างไร พร้อมยกตัวอย่างเป็นรูปกราฟฟิ
       ควรเพิ่ม communication หริอ ระบบ chat ลงไปเพื่อผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ตลอดเวลา


2. ท่านคิดว่า “การวิเคราะห์และการสังเคราะห์ความรู้ ใน KM มีความแตกต่างกันอย่างไร”

            การวิเคราะห์การแยกแยะทางความคิด เพื่อให้เห็น องค์ประกอบในการศึกษาแต่ละองค์ประกอบเพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ ขององค์ประกอบต่างๆ ที่ทำให้เกิดสิ่งนั้น เรื่องนั้น- การสังเคราะห์เป็นกระบวนบูรณาการปัจจัยต่างๆตั้งแต่สองปัจจัยขึ้นไปซึ่งอาจเป็นได้ทั้งคน สัตว์ สิ่งของรวมทั้งเหตุการณ์และสิ่งที่อยู่ในรูปของแนวคิดเข้ามาเป็นองค์ประกอบร่วมกันเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่

3. ท่านคิดว่า “นอกจาก เทคโนโลยี RSS ที่มาช่วยการสนับสนุนการจัดการความรู้แล้ว ในอนาคตควรจะมีอะไรเทคโนโลยีอะไรบ้างเพื่อทำให้การจัดการความรู้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น”

RSS  (Really Simple Syndication) คือ เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ควบคู่กับภาษา XML

             การทำงานของ RSS สนับสนุนให้ข้อมูลมีการปรับปรุงให้ทันสมัยตลอดเวลาโดยผู้ดูแลไม่จำเป็นต้องปรับปรุงด้วยตนเอง แต่ดำเนินการผ่านเอกสาร RSS ที่เรียกว่า Feed หรือ Web Feed หรือ Channel ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆ และนำมาแสดงผลแบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์จึงไม่ต้องดำเนินการด้วยตนเอง จึงนิยมนำมาใช้กับเนื้อหาภายในเว็บไซต์ที่ต้องเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัยตลอดเวลา

4. ท่านคิดว่า “การจัดการองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้วย KM จะสิ่งใดที่จะทำให้เป็นปัญหาและอุปสรรคในการจัดการดังกล่าว”ปัจจัยแห่งความสำเร็จและสิ่งที่สะท้อนปัญหาอุปสรร


1. วัฒนธรรมองค์กร จะเห็นว่าองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นการพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น องค์กรหนึ่งๆ หรือบ้านหลังหนึ่ง หากการพูดคุย ติดต่อสื่อสาร การมีปฏิสัมพันธ์ของคนในบ้านยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ อยู่กันแบบห่างเหิน ไม่อยากเสวนาพูดจา พูดคุยกันเพียงไม่กี่คำ ความไว้วางใจกันอยู่ในระดับต่ำ มีความสัมพันธ์ที่ไม่ดี บรรยากาศเหล่านี้เป็นสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกถึงสุขภาพขององค์กร แต่หากคนในองค์กรยอมรับที่จะปรับเปลี่ยนทัศนคติหรือมุมมองบางด้านที่เป็นอุปสรรคออกไป พูดคุยกันมากขึ้น ก็จะทำ ให้มีความเข้าใจกันในระดับลึก การพูดคุยกันจะมีความหมาย ไม่ใช่โครงสร้างองค์กรแบบต่างคนต่างอยู่ต่างคนต่างทำ         
2. บุคลากร การเรียนรู้ที่มีประสิทธิผลจะต้องไม่เกิดบนพื้นฐานของการบังคับ ปัญหาอันเกิดจากตัวบุคลากร เช่น ผู้รู้ไม่อยากถ่ายทอดเพราะเกรงว่า เมื่อถ่ายทอดไปแล้วจะไม่เหลืออะไร ตนจะหมดความสำคัญหรือฝ่ายผู้เรียนรู้ไม่ยอมรับในตัวผู้ถ่ายทอด หรือคนในองค์กรขาดความกระตือรือร้น เนื่องจากโดยทั่วๆ ไปแล้วพบว่า คนเรามีแนวโน้มที่จะเฉื่อยชา หรือมีความกระตือรือร้นลดน้อยลงตามอายุที่สูงขึ้น บุคลากรบางคนไม่ชอบความเปลี่ยนแปลง อาจจะเป็นปัญหาสะสมที่พบได้บ่อยในหน่วยงานราชการ และต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนพอสมควร          
3. ระบบความดีความชอบ อาจไม่ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ เพราะหากคนในองค์กรมองว่าความรู้เป็นอาวุธส่วนตัวสำหรับใช้ในการต่อสู้แข่งขันกับเพื่อนร่วมงาน บางแห่งพนักงานใช้ความรู้ที่มีเป็นเครื่องต่อรองกับผู้บริหาร ด้วยเหตุนี้เพื่อสร้างเสริมแรงบันดาลใจ หรือแรงจูงใจ อาจจัดให้มีรางวัลที่เป็นนามธรรมแก่หน่วยงานที่มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เช่น การประกาศยกย่องชมเชย เป็นต้น         
4. ด้านการเรียนรู้ ในส่วนที่เกี่ยวกับการยอมรับความผิดพลาด เนื่องจากสังคมวัฒนธรรมเรามองว่าความผิดพลาดเป็นเรื่องไม่ดี ต้องหลีกเลี่ยง หรือถ้าเกิดขึ้นแล้วก็ต้องปกปิดมิดชิดไม่มีการให้ความรู้ เราจึงได้เรียนรู้จากมุมมองด้านเดียว คือมุมมองด้านความสำเร็จ โดยไม่ได้เรียนรู้ว่าก่อนจะมีความสำเร็จต้องผ่านสิ่งใดมาบ้าง ไม่เคยเรียนรู้ว่าอะไรผิดควรหลีกเลี่ยง หรือมาวิเคราะห์กันว่าเราจะตอบสนองต่อปัญหาอย่างไร

วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

ปัญหาและอุปสรรคของการจัดการความรู้ (KM) นอกเหนือจาก 6 ข้อ มีดังนี้

การปรับเปลี่ยนและการจัดการพฤติกรรม

บุคลากรไม่เห็นประโยชน์โดยตรงที่จะเกิดกับตัวเอง บุคลากรนำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนไปใช้ในการปฏิบัติงานได้น้อย
ขาดความต่อเนื่องในความมุ่งมั่นที่จะให้การสนับสนุนและเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือโครงการ ทั้งในระดับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน  ซึ่งอาจเกิดจากการไม่ใช่งานประจำที่มีความผูกพันต้องรับผิดชอบ ผู้รับผิดชอบมีงานประจำที่ต้องรับผิดชอบ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการจัดทำและติดตามผล
ขาดการมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์กร การจัดการความรู้ซึ่งอาจไม่ได้มีการสำรวจความต้องการของบุคลากร เป็นสาเหตุให้บุคลากรไม่มีความรู้สึกผูกพันที่จะเข้ามามีส่วนร่วม
ความแตกต่างของคนในองค์กร

การสื่อสารในองค์กร

การสร้างเนื้อหาและรูปแบบการถ่ายทอดไปยังกลุ่มเป้าหมาย งานลักษณะนี้จำเป็นต้องมีทีมงานที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และต้องใช้เวลา

การพัฒนากระบวนการและเครื่องมือ

เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีในการจัดทำ เช่น การจัดทำฐานข้อมูล ที่ใช้ในการรวบรวมความรู้และดึงความรู้ เว็บไซต์สำหรับการเผยแพร่ความรู้และแลกเปลี่ยนความรู้ของบุคลากรในองค์กร
เครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้

การเรียนรู้

ขาดการประเมินและติดตามผลการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม แม้จะมีการประเมินหลังการอบรมแต่ไม่ได้เป็นการประเมินที่เชื่อมโยงเข้ากับการปรับปรุงผลการปฏิบัติงานอันเนื่องมาจากการใช้ความรู้ที่ได้จากการอบรมของผู้เรียน ทำให้ไม่สามารถใช้ผลการประเมินเพื่อติดตามการเรียนรู้ของผู้เรียนและทบทวนปรับปรุงหลักสูตรได้
ขาดกระบวนการในการออกแบบหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตรใช้วิธีนำเนื้อหามาประกอบเข้ากันโดยไม่มีการตั้งข้อกำหนดเกี่ยวกับความต้องการในการเรียนของผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายเนื่องจากเนื้อหาของหลักสูตรไม่ตรงกับกับความต้องการ
ไม่มีการฝึกอบรมแก่สมาชิกคณะทำงาน ทำให้สมาชิกทำหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนดแผนปฏิบัติการในแต่ละขั้นตอนขาดความรู้และทักษะในการทำงาน ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้แผนปฏิบัติการขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ช่วงเวลาที่จัดอบรมหรือเรียนรู้มักไม่เอื้ออำนวยต่อการเข้าร่วมฟัง จึงจำเป็นต้องเพิ่มจำนวนครั้งในการอบรม หรือจัดการอบรมตามสถานที่ปฏิบัติงานจริงของแต่ละหน่วยงาน เพิ่มรูปแบบการอบรม

การวัดและติดตามประเมินผล

การกำหนดตัวชี้วัดที่ไม่สมบูรณ์เนื่องจากขาดตัวชี้วัดนำ (Leading Indicator) มีเพียงตัวชี้วัดตาม (Lagging Indicator) ทำให้คณะทำงาน ไม่สามารถควบคุมและติดตามความคืบหน้าในการบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขาดการนำผลการประเมินไปใช้เพื่อทบทวนและปรับปรุงการดำเนินงาน

ปัญหาและอุปสรรคของการจัดการความรู้ (KM) นอกเหนือจาก 6 ข้อ มีดังนี้

การปรับเปลี่ยนและการจัดการพฤติกรรม

บุคลากรไม่เห็นประโยชน์โดยตรงที่จะเกิดกับตัวเอง บุคลากรนำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนไปใช้ในการปฏิบัติงานได้น้อย
ขาดความต่อเนื่องในความมุ่งมั่นที่จะให้การสนับสนุนและเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือโครงการ ทั้งในระดับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน  ซึ่งอาจเกิดจากการไม่ใช่งานประจำที่มีความผูกพันต้องรับผิดชอบ ผู้รับผิดชอบมีงานประจำที่ต้องรับผิดชอบ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการจัดทำและติดตามผล
ขาดการมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์กร การจัดการความรู้ซึ่งอาจไม่ได้มีการสำรวจความต้องการของบุคลากร เป็นสาเหตุให้บุคลากรไม่มีความรู้สึกผูกพันที่จะเข้ามามีส่วนร่วม
ความแตกต่างของคนในองค์กร
การสื่อสารในองค์กร

การสร้างเนื้อหาและรูปแบบการถ่ายทอดไปยังกลุ่มเป้าหมาย งานลักษณะนี้จำเป็นต้องมีทีมงานที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และต้องใช้เวลา
การพัฒนากระบวนการและเครื่องมือ

เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีในการจัดทำ เช่น การจัดทำฐานข้อมูล ที่ใช้ในการรวบรวมความรู้และดึงความรู้ เว็บไซต์สำหรับการเผยแพร่ความรู้และแลกเปลี่ยนความรู้ของบุคลากรในองค์กร
เครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้
การเรียนรู้

ขาดการประเมินและติดตามผลการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม แม้จะมีการประเมินหลังการอบรมแต่ไม่ได้เป็นการประเมินที่เชื่อมโยงเข้ากับการปรับปรุงผลการปฏิบัติงานอันเนื่องมาจากการใช้ความรู้ที่ได้จากการอบรมของผู้เรียน ทำให้ไม่สามารถใช้ผลการประเมินเพื่อติดตามการเรียนรู้ของผู้เรียนและทบทวนปรับปรุงหลักสูตรได้
ขาดกระบวนการในการออกแบบหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตรใช้วิธีนำเนื้อหามาประกอบเข้ากันโดยไม่มีการตั้งข้อกำหนดเกี่ยวกับความต้องการในการเรียนของผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายเนื่องจากเนื้อหาของหลักสูตรไม่ตรงกับกับความต้องการ
ไม่มีการฝึกอบรมแก่สมาชิกคณะทำงาน ทำให้สมาชิกทำหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนดแผนปฏิบัติการในแต่ละขั้นตอนขาดความรู้และทักษะในการทำงาน ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้แผนปฏิบัติการขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ช่วงเวลาที่จัดอบรมหรือเรียนรู้มักไม่เอื้ออำนวยต่อการเข้าร่วมฟัง จึงจำเป็นต้องเพิ่มจำนวนครั้งในการอบรม หรือจัดการอบรมตามสถานที่ปฏิบัติงานจริงของแต่ละหน่วยงาน เพิ่มรูปแบบการอบรม
การวัดและติดตามประเมินผล

การกำหนดตัวชี้วัดที่ไม่สมบูรณ์เนื่องจากขาดตัวชี้วัดนำ (Leading Indicator) มีเพียงตัวชี้วัดตาม (Lagging Indicator) ทำให้คณะทำงาน ไม่สามารถควบคุมและติดตามความคืบหน้าในการบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขาดการนำผลการประเมินไปใช้เพื่อทบทวนและปรับปรุงการดำเนินงาน

วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ KM ท่านคิดว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง


เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการจัดการความรู้ 

         เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการนำระบบคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม และความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้างและเผยแพร่สารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ  สำหรับในด้านการจัดการความรู้  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นปัจจัยสำคัญตัวหนึ่งที่เอื้อให้การจัดการความรู้ประสบความสำเร็จ ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  เป็นแรงผลักดันสำคัญที่ช่วยให้การแลกเปลี่ยนความรู้สามารถทำได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ระบบฐานข้อมูลที่ทันสมัยก็มีส่วนช่วยให้การจัดการความรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้นั้นประกอบด้วย

              1 เทคโนโลยีการสื่อสาร ช่วยให้บุคลากรสามารถเข้าถึงความรู้ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น รวมทั้งสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ค้นหาข้อมูลสารสนเทศและความรู้ที่ต้องการได้ผ่านทางเครือข่ายอินทราเน็ตหรืออินเทอร์เน็ตได้
              2  เทคโนโลยีสนับสนุนการทำงานร่วมกัน  ช่วยให้สามารถประสานการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอุปสรรคในเรื่องของระยะทาง เช่น โปรแกรมการทำงานเป็นกลุ่มหรือกรุ๊ปแวร์ (Groupware) เป็นซอฟแวร์ที่ทำให้มีการทำงานร่วมกันเป็นทีมผ่านระบบเครือข่าย มีการสื่อสารแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการประชุมร่วมกัน
              3  เทคโนโลยีในการจัดเก็บความรู้ ช่วยในการจัดเก็บและจัดการความรู้ต่างๆ เช่นระบบจัดการฐานข้อมูล  เหมืองข้อมูล (Data Mining) ที่เป็นการดึงข้อมูลจากแหล่ง จัดเก็บข้อมูลในคลังข้อมูล (Data Warehouse) มารวบรวมและแสดงผลในรูปแบบที่ใช้ประโยชน์ได้

              



วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การจัดการความรู้

การจัดการความรู้

                 การจัดการความรู้ในมุมมองของผมเป็นการนำเอาความรู้มาจัดเก็บอย่างเป็นระบบ  สามารถนำมาเผยแพร่หรือนำกลับมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว   เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาองค์การให้มีความเจริญก้าวหน้า

1.    ความรู้แบบชัดแจ้ง คือ  ความรู้ที่เห็นได้ชัดเจนเป็นรูปธรรม  เป็นความรู้ที่ได้มาจากการเรียนในห้องเรียน  การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  ความรู้ที่อยู่ในตำรา เช่น พวกหลักวิชา หรือทฤษฎีทั้งหลายอันได้จากการวิเคราะห์  สังเคราะห์  ผ่านกระบวนการพิสูจน์  กระบวนการวิจัย  จึง เรียกว่า ความรู้ชัดแจ้ง

 2.    ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน  คือ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ชัด  เป็น ความรู้ที่เกิดจากการฝึกฝน   การปฏิบัติงานจนเกิดทักษะและ   กลายเป็นความชำนาญ   เชี่ยวชาญ  จึงเป็นประสบการณ์ติดตัวของแต่ละบุคคล  เป็นความรู้ที่เกิดจากวิจารณญาณ   ปฏิภาณไหวพริบ  เป็นเทคนิคเฉพาะตัวบุคค