วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

ปัญหาและอุปสรรคของการจัดการความรู้ (KM) นอกเหนือจาก 6 ข้อ มีดังนี้

การปรับเปลี่ยนและการจัดการพฤติกรรม

บุคลากรไม่เห็นประโยชน์โดยตรงที่จะเกิดกับตัวเอง บุคลากรนำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนไปใช้ในการปฏิบัติงานได้น้อย
ขาดความต่อเนื่องในความมุ่งมั่นที่จะให้การสนับสนุนและเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือโครงการ ทั้งในระดับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน  ซึ่งอาจเกิดจากการไม่ใช่งานประจำที่มีความผูกพันต้องรับผิดชอบ ผู้รับผิดชอบมีงานประจำที่ต้องรับผิดชอบ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการจัดทำและติดตามผล
ขาดการมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์กร การจัดการความรู้ซึ่งอาจไม่ได้มีการสำรวจความต้องการของบุคลากร เป็นสาเหตุให้บุคลากรไม่มีความรู้สึกผูกพันที่จะเข้ามามีส่วนร่วม
ความแตกต่างของคนในองค์กร
การสื่อสารในองค์กร

การสร้างเนื้อหาและรูปแบบการถ่ายทอดไปยังกลุ่มเป้าหมาย งานลักษณะนี้จำเป็นต้องมีทีมงานที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และต้องใช้เวลา
การพัฒนากระบวนการและเครื่องมือ

เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีในการจัดทำ เช่น การจัดทำฐานข้อมูล ที่ใช้ในการรวบรวมความรู้และดึงความรู้ เว็บไซต์สำหรับการเผยแพร่ความรู้และแลกเปลี่ยนความรู้ของบุคลากรในองค์กร
เครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้
การเรียนรู้

ขาดการประเมินและติดตามผลการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม แม้จะมีการประเมินหลังการอบรมแต่ไม่ได้เป็นการประเมินที่เชื่อมโยงเข้ากับการปรับปรุงผลการปฏิบัติงานอันเนื่องมาจากการใช้ความรู้ที่ได้จากการอบรมของผู้เรียน ทำให้ไม่สามารถใช้ผลการประเมินเพื่อติดตามการเรียนรู้ของผู้เรียนและทบทวนปรับปรุงหลักสูตรได้
ขาดกระบวนการในการออกแบบหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตรใช้วิธีนำเนื้อหามาประกอบเข้ากันโดยไม่มีการตั้งข้อกำหนดเกี่ยวกับความต้องการในการเรียนของผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายเนื่องจากเนื้อหาของหลักสูตรไม่ตรงกับกับความต้องการ
ไม่มีการฝึกอบรมแก่สมาชิกคณะทำงาน ทำให้สมาชิกทำหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนดแผนปฏิบัติการในแต่ละขั้นตอนขาดความรู้และทักษะในการทำงาน ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้แผนปฏิบัติการขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ช่วงเวลาที่จัดอบรมหรือเรียนรู้มักไม่เอื้ออำนวยต่อการเข้าร่วมฟัง จึงจำเป็นต้องเพิ่มจำนวนครั้งในการอบรม หรือจัดการอบรมตามสถานที่ปฏิบัติงานจริงของแต่ละหน่วยงาน เพิ่มรูปแบบการอบรม
การวัดและติดตามประเมินผล

การกำหนดตัวชี้วัดที่ไม่สมบูรณ์เนื่องจากขาดตัวชี้วัดนำ (Leading Indicator) มีเพียงตัวชี้วัดตาม (Lagging Indicator) ทำให้คณะทำงาน ไม่สามารถควบคุมและติดตามความคืบหน้าในการบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขาดการนำผลการประเมินไปใช้เพื่อทบทวนและปรับปรุงการดำเนินงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น