วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

กาลามสูตร : สิ่งที่ไม่ควรเชื่อ 10 ประการ

๑.      อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามๆ กันมา คำพูดที่มาจากการบอกต่อๆกันมา หรือฟังตามๆกันมามีโอกาสที่จะบิดเบือนจากความเป็นจริงสูง 

๒.    อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา คำสอนข้อนี้มิใช่สอนให้เราดูถูกความเชื่อเก่าๆแต่ให้เราพินิจพิเคราะห์เสียก่อน

๓.  อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ ข้อนี้มีอยู่มากมายในปัจจุบันเช่นเขาเล่าลือว่าเมื่อไปบนบานศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่แห่งนี้แล้วจะได้สมตามปรารถนาก็ไปกับเขา

๔.     อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ เรื่องตำรานี่ต้องพิจารณาให้ดีเพราะบางครั้งบางข้อมูลที่เขียนไว้ในตำราก็เป็นเรื่องจริงที่เชื่อถือได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งแต่เมื่อเวลาผ่านไปข้อมูลนั้นอาจไม่เป็นจริงก็ได้

๕.     อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก เพราะเหตุผลบางอย่างก็ไม่ใช่ว่าจะถูกเสมอไป เช่น คิดว่าคนที่มีเงินทองมากมาย มีอำนาจล้นฟ้าจะต้องมีความสุข

๖.      อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน เช่น เมื่อเห็นเมฆฝนตั้งเค้ามาก็คาดคะเนเอาว่าฝนจะตกบางครั้งลมอาจพัดฝนผ่านไปไม่ตกก็ได้หรือเมื่อมีคนมาพูดคุยเอาใจเรา

๗.     อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล เช่นเพราะการปลงใจเชื่อเช่นนั้นอาจจะเกิดความเข้าใจผิดขึ้นได้ หรือเมื่อเราเห็นคนท้องโตก็อย่าเพิ่งคิดว่าคน ๆ นั้นตั้งท้อง เขาอาจจะอ้วนก็ได้

๘.     อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว ธรรมชาติของมนุษย์ย่อมมีความลำเอียงอยู่ในตัว

๙.      อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ สังคมในปัจจุบันมีการแบ่งพรรคแบ่งพวกออกเป็นหลายฝักหลายฝ่ายและผู้ที่เป็นหัวหน้าของแต่ละฝ่ายก็ล้วนแต่เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในสังคมเป็นผู้ที่มีคำพูดที่น่าจะเชื่อถือได้

๑๐.  อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา ครูของเราสอนให้เรารู้จักคิด รู้จักวิเคราะห์ รู้จัก
ไตร่ตรอง

มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง หมายถึง ทางปฏิบัติที่ไม่สุดโต่งไปในทางอุดมการณ์ใดอุดมการณ์หนึ่งเกินไป มุ่งเน้นใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา มักไม่ยืดถือหลักการอย่างงมงาย
1.อนิจจัง (ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน) ทำให้เกิดกฎวัฏฏะ(การหมุนวนเวียน)ทำให้มีสันตติ(การสืบต่อ)ที่ปิดบังอนิจจัง และกฎอนิจจังจะทำลายกฎวัฏฏะในที่สุด
-ความไม่เที่ยงแท้แน่นอนในที่นี้คือข้อมูล
2.ทุกขัง (ความทนได้ยาก)ทำให้เกิดกฎสมตา(ความสมดุล) ทำให้มี อิริยาบถ(การบริหารปรับตัว) ที่บิดบังทุกขัง และกฎทุกขังจะทำลายกฎสมตาในที่สุด
-การปรับตัวปรับข้อมูลให้ทันยุคทันสมัย
3.อนัตตา (ไม่ใช่ตัวตน) ทำให้เกิดกฎปัจจยาการ (การมีระบบระเบียบของโครงสร้าง)ทำให้มี ฆนะ(ความเป็นก้อน,รูปร่าง,โครงสร้าง)ที่ปิดบังอนัตตา และกฎอนัตตาจะทำลายกฎชีวิตาในที่สุด
-โครงสร้างของสิง่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลยุคเก่าหรือใหม่

Credit: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น