วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

กาลามสูตร : สิ่งที่ไม่ควรเชื่อ 10 ประการ

๑.      อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามๆ กันมา คำพูดที่มาจากการบอกต่อๆกันมา หรือฟังตามๆกันมามีโอกาสที่จะบิดเบือนจากความเป็นจริงสูง 

๒.    อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา คำสอนข้อนี้มิใช่สอนให้เราดูถูกความเชื่อเก่าๆแต่ให้เราพินิจพิเคราะห์เสียก่อน

๓.  อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ ข้อนี้มีอยู่มากมายในปัจจุบันเช่นเขาเล่าลือว่าเมื่อไปบนบานศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่แห่งนี้แล้วจะได้สมตามปรารถนาก็ไปกับเขา

๔.     อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ เรื่องตำรานี่ต้องพิจารณาให้ดีเพราะบางครั้งบางข้อมูลที่เขียนไว้ในตำราก็เป็นเรื่องจริงที่เชื่อถือได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งแต่เมื่อเวลาผ่านไปข้อมูลนั้นอาจไม่เป็นจริงก็ได้

๕.     อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก เพราะเหตุผลบางอย่างก็ไม่ใช่ว่าจะถูกเสมอไป เช่น คิดว่าคนที่มีเงินทองมากมาย มีอำนาจล้นฟ้าจะต้องมีความสุข

๖.      อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน เช่น เมื่อเห็นเมฆฝนตั้งเค้ามาก็คาดคะเนเอาว่าฝนจะตกบางครั้งลมอาจพัดฝนผ่านไปไม่ตกก็ได้หรือเมื่อมีคนมาพูดคุยเอาใจเรา

๗.     อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล เช่นเพราะการปลงใจเชื่อเช่นนั้นอาจจะเกิดความเข้าใจผิดขึ้นได้ หรือเมื่อเราเห็นคนท้องโตก็อย่าเพิ่งคิดว่าคน ๆ นั้นตั้งท้อง เขาอาจจะอ้วนก็ได้

๘.     อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว ธรรมชาติของมนุษย์ย่อมมีความลำเอียงอยู่ในตัว

๙.      อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ สังคมในปัจจุบันมีการแบ่งพรรคแบ่งพวกออกเป็นหลายฝักหลายฝ่ายและผู้ที่เป็นหัวหน้าของแต่ละฝ่ายก็ล้วนแต่เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในสังคมเป็นผู้ที่มีคำพูดที่น่าจะเชื่อถือได้

๑๐.  อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา ครูของเราสอนให้เรารู้จักคิด รู้จักวิเคราะห์ รู้จัก
ไตร่ตรอง

มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง หมายถึง ทางปฏิบัติที่ไม่สุดโต่งไปในทางอุดมการณ์ใดอุดมการณ์หนึ่งเกินไป มุ่งเน้นใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา มักไม่ยืดถือหลักการอย่างงมงาย
1.อนิจจัง (ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน) ทำให้เกิดกฎวัฏฏะ(การหมุนวนเวียน)ทำให้มีสันตติ(การสืบต่อ)ที่ปิดบังอนิจจัง และกฎอนิจจังจะทำลายกฎวัฏฏะในที่สุด
-ความไม่เที่ยงแท้แน่นอนในที่นี้คือข้อมูล
2.ทุกขัง (ความทนได้ยาก)ทำให้เกิดกฎสมตา(ความสมดุล) ทำให้มี อิริยาบถ(การบริหารปรับตัว) ที่บิดบังทุกขัง และกฎทุกขังจะทำลายกฎสมตาในที่สุด
-การปรับตัวปรับข้อมูลให้ทันยุคทันสมัย
3.อนัตตา (ไม่ใช่ตัวตน) ทำให้เกิดกฎปัจจยาการ (การมีระบบระเบียบของโครงสร้าง)ทำให้มี ฆนะ(ความเป็นก้อน,รูปร่าง,โครงสร้าง)ที่ปิดบังอนัตตา และกฎอนัตตาจะทำลายกฎชีวิตาในที่สุด
-โครงสร้างของสิง่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลยุคเก่าหรือใหม่

Credit: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3

วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

คำถาม KM

1.ท่านคิดว่า Blog ในอนาคตสำหรับการจัดการความรู้ ควรจะมีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มเติมอย่างไร พร้อมยกตัวอย่างเป็นรูปกราฟฟิ
       ควรเพิ่ม communication หริอ ระบบ chat ลงไปเพื่อผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ตลอดเวลา


2. ท่านคิดว่า “การวิเคราะห์และการสังเคราะห์ความรู้ ใน KM มีความแตกต่างกันอย่างไร”

            การวิเคราะห์การแยกแยะทางความคิด เพื่อให้เห็น องค์ประกอบในการศึกษาแต่ละองค์ประกอบเพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ ขององค์ประกอบต่างๆ ที่ทำให้เกิดสิ่งนั้น เรื่องนั้น- การสังเคราะห์เป็นกระบวนบูรณาการปัจจัยต่างๆตั้งแต่สองปัจจัยขึ้นไปซึ่งอาจเป็นได้ทั้งคน สัตว์ สิ่งของรวมทั้งเหตุการณ์และสิ่งที่อยู่ในรูปของแนวคิดเข้ามาเป็นองค์ประกอบร่วมกันเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่

3. ท่านคิดว่า “นอกจาก เทคโนโลยี RSS ที่มาช่วยการสนับสนุนการจัดการความรู้แล้ว ในอนาคตควรจะมีอะไรเทคโนโลยีอะไรบ้างเพื่อทำให้การจัดการความรู้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น”

RSS  (Really Simple Syndication) คือ เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ควบคู่กับภาษา XML

             การทำงานของ RSS สนับสนุนให้ข้อมูลมีการปรับปรุงให้ทันสมัยตลอดเวลาโดยผู้ดูแลไม่จำเป็นต้องปรับปรุงด้วยตนเอง แต่ดำเนินการผ่านเอกสาร RSS ที่เรียกว่า Feed หรือ Web Feed หรือ Channel ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆ และนำมาแสดงผลแบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์จึงไม่ต้องดำเนินการด้วยตนเอง จึงนิยมนำมาใช้กับเนื้อหาภายในเว็บไซต์ที่ต้องเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัยตลอดเวลา

4. ท่านคิดว่า “การจัดการองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้วย KM จะสิ่งใดที่จะทำให้เป็นปัญหาและอุปสรรคในการจัดการดังกล่าว”ปัจจัยแห่งความสำเร็จและสิ่งที่สะท้อนปัญหาอุปสรร


1. วัฒนธรรมองค์กร จะเห็นว่าองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นการพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น องค์กรหนึ่งๆ หรือบ้านหลังหนึ่ง หากการพูดคุย ติดต่อสื่อสาร การมีปฏิสัมพันธ์ของคนในบ้านยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ อยู่กันแบบห่างเหิน ไม่อยากเสวนาพูดจา พูดคุยกันเพียงไม่กี่คำ ความไว้วางใจกันอยู่ในระดับต่ำ มีความสัมพันธ์ที่ไม่ดี บรรยากาศเหล่านี้เป็นสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกถึงสุขภาพขององค์กร แต่หากคนในองค์กรยอมรับที่จะปรับเปลี่ยนทัศนคติหรือมุมมองบางด้านที่เป็นอุปสรรคออกไป พูดคุยกันมากขึ้น ก็จะทำ ให้มีความเข้าใจกันในระดับลึก การพูดคุยกันจะมีความหมาย ไม่ใช่โครงสร้างองค์กรแบบต่างคนต่างอยู่ต่างคนต่างทำ         
2. บุคลากร การเรียนรู้ที่มีประสิทธิผลจะต้องไม่เกิดบนพื้นฐานของการบังคับ ปัญหาอันเกิดจากตัวบุคลากร เช่น ผู้รู้ไม่อยากถ่ายทอดเพราะเกรงว่า เมื่อถ่ายทอดไปแล้วจะไม่เหลืออะไร ตนจะหมดความสำคัญหรือฝ่ายผู้เรียนรู้ไม่ยอมรับในตัวผู้ถ่ายทอด หรือคนในองค์กรขาดความกระตือรือร้น เนื่องจากโดยทั่วๆ ไปแล้วพบว่า คนเรามีแนวโน้มที่จะเฉื่อยชา หรือมีความกระตือรือร้นลดน้อยลงตามอายุที่สูงขึ้น บุคลากรบางคนไม่ชอบความเปลี่ยนแปลง อาจจะเป็นปัญหาสะสมที่พบได้บ่อยในหน่วยงานราชการ และต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนพอสมควร          
3. ระบบความดีความชอบ อาจไม่ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ เพราะหากคนในองค์กรมองว่าความรู้เป็นอาวุธส่วนตัวสำหรับใช้ในการต่อสู้แข่งขันกับเพื่อนร่วมงาน บางแห่งพนักงานใช้ความรู้ที่มีเป็นเครื่องต่อรองกับผู้บริหาร ด้วยเหตุนี้เพื่อสร้างเสริมแรงบันดาลใจ หรือแรงจูงใจ อาจจัดให้มีรางวัลที่เป็นนามธรรมแก่หน่วยงานที่มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เช่น การประกาศยกย่องชมเชย เป็นต้น         
4. ด้านการเรียนรู้ ในส่วนที่เกี่ยวกับการยอมรับความผิดพลาด เนื่องจากสังคมวัฒนธรรมเรามองว่าความผิดพลาดเป็นเรื่องไม่ดี ต้องหลีกเลี่ยง หรือถ้าเกิดขึ้นแล้วก็ต้องปกปิดมิดชิดไม่มีการให้ความรู้ เราจึงได้เรียนรู้จากมุมมองด้านเดียว คือมุมมองด้านความสำเร็จ โดยไม่ได้เรียนรู้ว่าก่อนจะมีความสำเร็จต้องผ่านสิ่งใดมาบ้าง ไม่เคยเรียนรู้ว่าอะไรผิดควรหลีกเลี่ยง หรือมาวิเคราะห์กันว่าเราจะตอบสนองต่อปัญหาอย่างไร