วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Decision Tree เกี่ยวข้องกับ การตัดสินใจอย่างไร

การตัดสินใจโดยใช้แผนภาพต้นไม้เพื่อการตัดสินใจ (Decision Trees)
         องค์ประกอบสำหรับการตัดสินใจการตัดสินใจทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไข โดยที่เงื่อนไขประกอบขึ้นจาก
ตัวแปรต่าง ๆ ที่เป็นปัจจัยในการตัดสินใจ
เงื่อนไข (conditions)
การกระทำ (actions)
เหตุการณ์ที่เป็นไปได้ --> นำไปสู่การเลือก -->แนวทางการทำงาน หรือขั้นตอนการทำงานหรือกิจกรรมเมื่อมีการระบุการตัดสินใจ
รูป องค์ประกอบสำหรับการตัดสินใจ
         เงื่อนไขจะเกิดขึ้นจากตัวแปรที่ใช้ในการตัดสินใจ เช่น การเลือกซื้อผลไม้ พิจารณาว่า ผลไม้ "ดี" หรือ "เสีย" ในที่นี้ "ดี" หรือ "เสีย" จะเป็นตัวแปรที่ใช้ในการตัดสินใจ ซึ่งจะทำให้เกิดเหตุการณ์ที่เป็นไปได้ของการระบุเงื่อนไข ดังนี้
         ผลไม้ดี
         ผลไม้เสีย
         และนำไปสู่การเลือกแนวทางการทำงาน หรือกิจกรรมได้ดังนี้
         ซื้อ
         ไม่ซื้อ
         เมื่อนำทั้งเงื่อนไขและการกระทำมาสร้างองค์ประกอบสำหรับการตัดสินใจตามข้อเท็จจริงที่ได้วิเคราะห์ อาจเป็นไปได้ดังนี้
         ผลไม้ดี --> ซื้อ
         ผลไม้เสีย --> ไม่ซื้อ
ต้นไม้การตัดสินใจ
         ต้นไม้การตัดสินใจ (decision tree) เป็นแผนภาพที่ใช้แสดงเงื่อนไขและการกระทำตามเงื่อนไข โดยมีลักษณะตามรูป

รูป การตัดสินใจด้วยแผนภาพต้นไม้อ่านจาก ซ้ายไปขวา
         เริ่มจากจากรากของต้นไม้จะอยู่ทางซ้ายมือของแผนผัง ซึ่งเป็นจุดตั้งต้นของลำดับการตัดสินใจ ส่วนกิ่งก้านสาขาของต้นไม้จะเป็นเงื่อนไขของระบบ ปลายสุดของกิ่งก้านสาขา จะเป็นการตัดสินใจหรือเลือกปฏิบัติงานตามเงื่อนไข
         การตัดสินใจโดยแผนภาพต้นไม้นี้มีประโยชน์ต่อนักวิเคราะห์ระบบ 2 อย่างด้วยกัน อย่างแรก คืออธิบายเงื่อนไขและ
ทางเลือกของการปฏิบัติงาน เพราะบางครั้งยากที่จะเขียนอธิบายการตัดสินใจทั้งหมดที่เป็นไปได้ เพราะขึ้นอยู่กับตัวแปรว่า
เป็นเชิงปริมาณ หรือเชิงคุณภาพ อย่างที่สอง คือการตัดสินใจโดยแผนภาพต้นไม้เป็น การวิเคราะห์การตัดสินใจแบบเป็นลำดับ ทำให้ผู้ใช้สามารถตัดสินใจเลือกเงื่อนไขที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว เงื่อนไขคือช่วงเวลาที่นำเงินมาชำระ และจำนวนเงินใน
ใบเสร็จรับเงิน

วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การตัดสินใจเกี่ยวข้องกับ information technology หรือไม่ หากเกี่ยวข้องจะเกี่ยวข้องอย่างไร

การตัดสินเกี่ยวข้องกับ information technology อยู่แล้ว เพราะ ต้องใช้ข้อมูลมาตัดสินใจตั้งแต่ การเลือกซื้ออุปกรณ์เกี่ยวกับ information technology เช่น การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ การเลือกซื้อเครื่องต่างๆ แล้วยังมีการตัดสินใจในการเลือกใช้โปรแกรมต่างที่จำเป็นต่อเครื่องหรือควรจะมีอยู่ในเครื่องและโปรแกรมที่ไม่จำเป็นต้องใช้เพราะอาจทำให้หนักเครื่องได้ ในการเขียนโปรแกรมก็ต้องเลือกใช้ภาษาที่เหมาะสมในการเขียน แม้แต่ในการออกแบบด้านอนิเมะก็ต้องใช้ข้อมูลหรือสืบหาข้อมูลเพื่อมาใช้ในการตัดสินใจว่าจะออกแบบไปในแนวทางใด ในการตัดสินใจทั้งหมดถ้าเราได้ตัดสินใจทำไปแล้วเราอาจไม่สามารถกลับมาตัดสินใจใหม่ได้หรืออาจแก้ไขได้แต่ต้องใช้เวลาในการแก้ไขนาน เช่น การตัดสินใจซื้อคอมพิวเตอร์พอซื้อไปแล้วเราไปเจอเครื่องที่มีสเปคสูงกว่าราคาถูกกว่า เราก็ไม่สามารถเอาเครื่องเก่าไปคืนแล้วไปซื้อเครื่องที่เราอยากได้ หรือเราตัดสินใจจะออกแบบไปแนวทางหนึ่งแล้วปรากฏว่าพบแนวทางออกแบบใหม่ที่ง่ายกว่างานที่ได้ออกมาดีกว่าเราจึงต้องเสียเวลากลับไปแก้ไขให้ออกมาในแนวทางที่เราต้องการ
เพราะอย่างนั้นเราจึงจำเป็นต้องหาข้อมูลเพื่อให้มาช่วยในการตัดสินจากหลายที่ ใช้เวลาในการคิด
ไตร่ตรองให้นานเพื่อจะได้ดึงข้อมูลที่มีทั้งหมดออกมาประมวลพลแล้วจึงค่อยตัดสินใจ

 information technology จะต้องมีการตัดสินใจเข้ามาร่วมเสมอไม่ว่าจะทำอะไร เพราะถ้าอาจไม่มีการตัดสินใจที่อาจทำให้เราตัดสินพลาดหรือผิด จะทำให้เรามานั่งนึกเสียใจและเสียดายหลังที่ตัวได้ตัดสินใจไปนั้นเป็นเรื่องที่ผิด ไม่ใช่แค่ว่าการตัดสินนั้นจะเกี่ยวกับ  information technology อย่างเดียว การตัดสินใจเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตของเราทั้งหมดตั้งแต่จำความได้จนถึงปัจจุบัน แต่ในขณะที่อายุยังน้อยก็ยังมีการตัดสินใจที่พลาดมากเพราะมีข้อมูลอยู่น้อยและขาดประสบการณ์ พอโตขึ้นในวัยผู้ใหญ่การตัดสินใจก็จะดีขึ้นเพราะมีข้อมูลอยู่เยอะและมีประสบการณ์มาก่อน

"ไม่ว่าเราจะตัดสินใจยังไง สิ่งที่ตัดสินใจไปแล้วก็ต้องยอมเราในการตัดสินใจของเรา"